TikTok จับมือ depa สานต่อ ลอง-D Challenge ชวนผู้ใช้แชร์วิธีรับมือกลโกงและการหลอกลวงทางดิจิทัล มุ่งหวังเสริมภูมิคุ้มกันภัยที่แฝงมาในออนไลน์ให้สังคม
ในยุคที่คนไทยเกือบทั้งประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตอย่างไร้ข้อจำกัด แม้จะสร้างประโยชน์มากมาย แต่อีกมุมหนึ่งปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์หรือการหลอกลวงทางดิจิทัลก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า การหลอกลวงผ่านเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน โดยสถิติชี้ให้เห็นว่าในปี 2564 ประเทศไทยได้รับการโทรศัพท์หลอกลวงมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 270 และข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นร้อยละ 57
จากการร้องเรียนในปี 2564 พบว่ามีเหยื่อมากกว่า 1,600 รายที่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 1 พันล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการร้องเรียนออนไลน์ 48,513 ข้อ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปีที่แล้ว
จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รู้เท่าทัน สามารถสร้างภูมิคุ้มกันด้านดิจิทัลให้แก่ตนเองและสังคม ในแง่ของหน่วยงานภาครัฐต้องยกระดับขีดความสามารถในการรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
TikTok จับมือ depa สานต่อ ลอง-D Challenge ชวนผู้ใช้แชร์วิธีรับมือกลโกงและการหลอกลวงทางดิจิทัล มุ่งหวังเสริมภูมิคุ้มกันภัยที่แฝงมาในออนไลน์ให้สังคม
ในยุคที่คนไทยเกือบทั้งประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตอย่างไร้ข้อจำกัด แม้จะสร้างประโยชน์มากมาย แต่อีกมุมหนึ่งปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์หรือการหลอกลวงทางดิจิทัลก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า การหลอกลวงผ่านเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน โดยสถิติชี้ให้เห็นว่าในปี 2564 ประเทศไทยได้รับการโทรศัพท์หลอกลวงมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 270 และข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นร้อยละ 57
จากการร้องเรียนในปี 2564 พบว่ามีเหยื่อมากกว่า 1,600 รายที่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 1 พันล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการร้องเรียนออนไลน์ 48,513 ข้อ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปีที่แล้ว
จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รู้เท่าทัน สามารถสร้างภูมิคุ้มกันด้านดิจิทัลให้แก่ตนเองและสังคม ในแง่ของหน่วยงานภาครัฐต้องยกระดับขีดความสามารถในการรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น