ป้ายกำกับ

หัวเว่ย ประเทศไทยคว้ารางวัล Prime Minister Award ‘สุดยอดองค์กรดีเด่นด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์’ สะท้อนความมุ่งมั่นการเสริมแกร่งบุคลากรดิจิทัล

 

มิถุนายน พ.ศ. 2566 – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด คว้ารางวัล Prime Minister Award ด้าน สุดยอดองค์กรดีเด่นด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์’ (Best of Contributor in Human Capital Development Award) จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โดยรางวัลอันทรงเกียรตินี้เป็นเครื่องพิสูจน์ความมุ่งมั่นของหัวเว่ยจากการเร่งขับเคลื่อนหลากหลายโครงการ โดยเฉพาะด้านอีโคซิสเต็มของเทคโนโลยี 5G คลาวด์ และด้านความยั่งยืน ทั้งนี้ หัวเว่ย คือบริษัทชั้นนำระดับโลกเพียงรายเดียวที่ได้รับรางวัล โดยมี นาย เดวิด หลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้แทนรับรางวัลจากนาย ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีมอบรางวัลที่บริษัทชั้นนำหลายแห่งต่างได้รับการเชิดชูเกียรติจากความมุ่งมั่นขับเคลื่อนประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลางด้านบุคลากรในภูมิภาคอาเซียน


จากข้อมูลในสมุดปกขาวด้านการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งร่วมจัดทำขึ้นโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหัวเว่ยได้มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลถึง 500,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2573 จากข้อมูลด้งกล่าว หัวเว่ยได้ตระหนักถึงความต้องการจากภาคอุตสาหกรรมและภาคสังคมในด้านนี้ จึงได้ร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและโครงการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทยมากว่า 20 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจของหัวเว่ยในการปลดล็อคศักยภาพดิจิทัลเพื่อมอบชีวิตที่ดีขึ้น สร้างบุคลากรดิจิทัลเพื่อประเทศไทยที่ดีขึ้น ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และฟูมฟักทักษะดิจิทัลเพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยเพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว หัวเว่ย ประเทศไทย ได้เปิดตัวโครงการต่างๆ หลายโครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการ “Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย)” ในปี พ.ศ. 2562 แพลตฟอร์มซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นผู้นำ อาชีพ การศึกษาสายอาชีวะ และความเท่าเทียม โครงการดังกล่าวได้จัดการฝึกอบรมเรื่องความเป็นผู้นำด้านดิจิทัล การเรียนรู้ภาคปฏิบัติ และช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรไอซีทีซึ่งเป็นที่ต้องการจากภาคอุตสาหกรรม ตามเป้าหมายด้านการสร้างบุคลากรไอซีทีในประเทศไทยให้ถึง 100,000 คน ภายในเวลา ปี ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ซึ่งโครงการนี้ได้ฝึกอบรมผู้เข้าร่วมไปแล้วกว่า 73,000 คน จากมหาวิทยาลัย 40 แห่ง และสร้างประโยชน์ให้แก่โครงการต่างๆ ในประเทศไทยมากกว่า 100 โครงการ

 



นาย เดวิด หลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงรางวัลดังกล่าวและวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ซึ่งสะท้อนความมุ่งมั่นของหัวเว่ยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและตอบแทนสังคมไทยตามพันธกิจ เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะวางรากฐานอันมั่นคงเพื่อบ่มเพาะอีโคซิสเต็มบุคลากรดิจิทัลที่รุ่งเรือง เพื่อเสริมสร้างรากฐานแรงงานที่มีศักยภาพในการแข่งขันด้าน 5G คลาวด์ และอุตสาหกรรมดิจิทัลพาวเวอร์สำหรับประเทศ”




ในฐานะพาร์ทเนอร์เชิงกลยุทธ์ หัวเว่ยและสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้สนับสนุนเรื่องการบ่มเพาะบุคลากรที่มีทักษะมาอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2562 หัวเว่ยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจด้านการพัฒนาสังคมที่มีนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และได้ทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยบ่มเพาะนิสิตนักศึกษา สตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอี ขับเคลื่อนกระบวนการการฟูมฟักและเร่งการเติบโตองค์กรประเภทสตาร์ทอัพ เช่นเดียวกับการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพด้านการขยับขยายธุรกิจของพวกเขาในอนาคต เพื่อผลักดันประเทศไทยในการก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลในอาเซียน

 

เพื่อสนับสนุนประเทศไทยบนเส้นทางของการมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางด้านบุคลากรในภูมิภาคอาเซียน หัวเว่ย ประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรผู้มีทักษะดิจิทัลหลากหลายโครงการตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยในปี พ.ศ. 2551 หัวเว่ยริเริ่มโครงการ ‘Seeds for the Future’ ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลและการศึกษาดูงานเชิงวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนผู้มากความสามารถ ในปี พ.ศ. 2558 หัวเว่ยได้เปิดตัวการแข่งขันด้านไอซีทีในระดับโลก ซึ่งตั้งเป้าเพื่อเชื่อมต่อและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียนและเยาวชน ผ่านการส่งมอบการฝึกอบรม มอบประกาศนียบัตร และมหกรรมจัดหางาน ในประเทศไทย โครงการการแข่งขันดังกล่าวได้สร้างประโยชน์ให้แก่นักเรียนคุณภาพมากกว่า 1,000 คน จากมหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่ง และตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นมา หัวเว่ยยังได้เปิดตัวโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไอซีทีให้แก่นักเรียนและคนงานกว่า 3,000 คน ในพื้นที่ต่างจังหวัด

 

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ตั้งเป้าในปี พ.ศ. 2566 ในการพัฒนาวิศวกรด้านความยั่งยืนให้ได้ถึง 10,000 คน และนักพัฒนาด้านคลาวด์จำนวน 20,000 คนภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิสัยทัศน์ของบริษัทในการสนับสนุนประเทศไทยอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ มุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่มีความยั่งยืน




 

รางวัล Prime Minister Award ซึ่งหัวเว่ยได้รับในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สาม โดยในปี พ.ศ. 2564 หัวเว่ยได้รับเกียรติจากการได้รางวัล Special Prime Minister Award ในด้าน “Digital International Corporation of the Year” ในปี พ.ศ. 2565 หัวเว่ย ประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างความยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรมและความเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยข้อมูล ซึ่งทำให้บริษัทได้รับรางวัลความปลอดภัยทางไซเบอร์ “Prime Minister Awards – Thailand Cybersecurity Excellence Award 2022” จากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น